ทำความรู้จัก ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้นก่อสร้าง

8819 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความรู้จัก ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้นก่อสร้าง

ทำความรู้จัก ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้นก่อสร้าง
ในงานก่อสร้างแทบจะทุกประเภท จะต้องมีเหล็กเส้นก่อสร้าง เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานไม่ใช่น้อย ทั้งงานพื้น งานเสา งานคาน

ซึ่งการเลือกใช้ประเภทและขนาดให้เหมาะสม ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเหล็กข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลมกัน

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต หรือ เหล็กเส้นก่อสร้าง ใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก งานฐานราก ทั่วไป เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ เหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย

  1. เหล็กเส้นกลม (Roundl Bar/RB) มีลักษณะกลมผิวเรียบเกลี้ยง ใช้กับงานก่อสร้างขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง  สามารถรับแรงดึงที่จุดครากประมาณ 2400 ksc หรือชั้นคุณภาพ SR24  เหมาะสำหรับงานโครงสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยทั่วไป


  2. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar/DB) ลักษณะผิวมีบั้งหรือปล้องอยู่ตลอดทั้งเส้น ทำให้ยึดเกาะกับ  ปูนได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม  ใช้กับงานก่อสร้างขนาดกลางขึ้นไป มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากอยู่ที่ประมาณ 3000, 4000, 5000 ksc.หรือชั้นคุณภาพ SD30, SD40, SD50  ตามลำดับ เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารสูง, คอนโดมิเนียม ถนน, สะพาน หรือบ้านพักที่อยู่อาศัย ส่วนการเลือกชั้นคุณภาพจะขึ้นอยู่กับชนิดของ โครงสร้างเป็นสำคัญ 
     
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าเหล็กข้ออ้อยสามารถรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลม ดังนั้นในการ  นำไปใช้งานร่วมกันจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน และเหล็กเส้นกลมใช้เป็นเหล็กปลอกเสา  

เหล็กเส้นกลมมีหลายขนาดด้วยกัน เช่น RB6 (หมาย ถึง Round Bar ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม.) RB8, RB9, RB12, RB15, RB19, RB25

ส่วนเหล็กข้ออ้อยมีขนาดตั้งแต่ DB10 (หมายถึง Deformed Bar ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มม.) DB12, DB16, DB20, DB25, DB28, และ DB32 เป็นต้น โดยปกติ เหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยนั้น จะมีความยาวอยู่ที่ 10 เมตรและ 12 เมตร ขึ้นอยู่กับผู้ใช้

Powered by MakeWebEasy.com